บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water )
Share: facebook_share บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) line_share บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) twitter_share บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) messenger_share บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water )

บรรเทาอาการ ท้องผูก ด้วย น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water )


หากรู้สึกถ่ายอุจจาระยาก หรือถ่ายไม่ออก เป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณมีอาการ ท้องผูก เข้าแล้ว โดยอาการนี้ ถือว่าไม่รุนแรงมาก และสามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่ม น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) หรือน้ำด่าง ได้

 

ท้องผูก เกิดจากอะไร?

 

อาการท้องผูก ( Constipation ) เป็นอาการ ที่เกิดจาก การทำงานของลำไส้ หรือ กล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ ได้แก่ การเบ่งไม่เป็น โดยมีการบีบตัวของ กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ไม่ประสานกับการเบ่ง การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ น้อยกว่าปกติ หรือมีการเคลื่อนไหว ไม่ประสานกันทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ และ ภาวะลำไส้แปรปรวน หรือลำไส้ เกิดการอุดตัน ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งภาวะนี้ เกิดจากความผิดปกติของทวารหนัก เช่น ทวารหนักกลืนกัน , ทวารหนักปลิ้น , ทวารหนัก เป็นกระเปาะยื่นเข้าช่องคลอด (ในสตรี) หรือ รูทวารหนักตีบตัน มีการลดน้อยลงของปมประสาท บริเวณลำไส้ใหญ่ มาแต่กำเนิด ( Hirschprung’s disease )

 

นอกจากนี้ การใช้ยาบางประเภทเป็นประจำ อาจทำให้เกิด อาการท้องผูกได้ โดยเฉพาะ กลุ่มยาทางจิตเวช , ยาลดการบีบเกร็ง ของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง และยาที่รักษาอาการซึมเศร้า  เช่น ยาแก้ปวด Buscopan ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาแก้แพ้ Chlorpheniramine ( CPM ) ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ Verapamil, Diltiazem, Clonidine หรือ วิตามินเสริมที่มีส่วนผสมของ Calcium, Aluminium ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น Diclofenac, Piroxicam และ Indometracin

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่า ท้องผูก

 

1. เวลาถ่ายอุจจาระ ต้องเบ่งมากกว่าปกติ

2. อุจจาระเป็นก้อนแข็งกว่าปกติ

3.  รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด

4.  ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

5. มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออก เนื่องจาก มีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก

6. หากใช้นิ้วมือ ช่วยในการถ่ายอุจจาระ หากมีอาการนานกว่า 3 - 6 เดือน เตรียมใจเป็น โรคท้องผูกเรื้อรัง

 

หากมีปัญหาขับถ่ายยาก หลายวัน และหลายครั้ง ที่จะต้องอยู่ในห้องน้ำ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง เพื่อเบ่งถ่ายอุจจาระมาก หรือ เบ่งยาก อุจจาระแข็ง ลักษณะเป็นเม็ดกระสุน หรือ เป็นก้อนแข็ง บางครั้งต้องใช้นิ้วล้วงช่วย ทำให้ถ่ายไม่สุดเหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง โดยหากอาการท้องผูก มีอาการนานกว่า 3-6 เดือน และคุณต้องใช้นิ้วมือ ในการช่วยถ่ายอุจจาระ ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยด่วย เพราะคุณอาจเป็น โรคท้องผูกเรื้อรังได้

 

ผลเสียต่อร่างกาย หากท้องผูก เป็นเวลานาน

 

  • ท้องผูก ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
  • ท้องผูก ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ท้องผูก ทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน
  • ท้องผูก ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือ แผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
  • ท้องผูก ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ท้องผูก ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตา และ หู

 

การดื่ม น้ำอัลคาไลน์ ช่วยได้

 

หากมี อาการท้องผูก ในช่วงแรก และยังไม่มีอาการรุนแรง ผู้ที่มีอาการ สามารถรักษาด้วยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ท้องผูก ได้ อย่างการดื่มน้ำ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ ผู้มีอาการ ท้องผูก  ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2,000 ลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้ำ และไม่ทำให้อุจจาระแข็ง จนเกินไปได้ ซึ่ง น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) หรือ น้ำด่าง ก็ถือเป็นหนึ่งตัวเลือกของน้ำดื่มที่ดี ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้

 

นอกจากนี้ น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water )  ยังประกอบด้วย แร่ธาตุสารอาหารต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ เช่น แคลเซียม, โซเดียม, แมกนีเซียม และ โพแทสเซียม ผสมอยู่ในน้ำ ไม่มีแร่ธาตุ จำพวก โลหะหนัก ผสมอยู่ ความที่น้ำมีสภาพเป็นด่าง จึงมีส่วนช่วย ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ นอกเหนือ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ เพราะด้วยความที่เป็น น้ำด่าง ทำให้ซึมเข้าไปจับไขมันส่วนเกิน

 

สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปรารถนาดีจาก   น้ำดื่มอัลคาไลน์ (น้ำด่าง) ตราแมนเนเจอร์ (Alkaline Water pH8.5+ By ManNature)

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

น้ำอัลคาไลน์ คืนความสดชื่นให้กับ นักกีฬา

คุณสมบัติของ น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) ที่ดีต่อสุขภาพ


Tag :


บทความที่แนะนำ